เปิด 4 เหตุผลค่าไฟต้องไม่เกิน 4.72 บาท ปัญหาหมักหมมขอคนจริงใจแก้ไข

นายอิศเรศรัตนดิลกณภูเก็ตรองประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.)เปิดเผยว่าช่วงนี้เป็นช่วงเวลาที่ภาครัฐกำลังศึกษาตัวเลขที่เหมาะสมของค่าไฟฟ้าผันแปรอัตโนมัติหรือเอฟที งวดใหม่(พ.ค.-ส.ค.)หลังจากปรับค่าเอฟที ภาคธุรกิจขึ้นมา13% ในงวดแรก (ม.ค.- เม.ย.) เป็น5.33จากเดิม4.72บาทต่อหน่วยขณะที่ภาคครัวเรือนอยู่ที่ 4.72 บาทต่อหน่วย

ทางสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทยขอเสนอแนะมุมมองในการบริหารค่าเอฟทีไฟฟ้าในงวดใหม่ต่อภาครัฐดังนี้

  1. ปรับลดค่าFTของภาคธุรกิจให้กลับมายืนราคาไม่เกิน93สตางค์เพื่อให้ค่าไฟฟ้าของภาคธุรกิจไม่สูงกว่า4.72บาทต่อหน่วยเหมือนงวดสุดท้ายปี 65 (ก.ย.-ธ.ค.) เนื่องจากมีปัจจัยบวกของต้นทุนการผลิตไฟฟ้า ไม่ว่าจะเป็นค่าพลังงานก๊าซแอลเอ็นจี,ดีเซล, น้ำมันเตาและอื่น ๆ ที่ลดลงของตลาดโลก,ค่าเงินบาทที่แข็งค่าขึ้นและก๊าซธรรมชาติในอ่าวไทย (NG) ที่จะมีSupplyมากขึ้นในกลางปีนี้ตามลำดับ

2. การสนับสนุนจากภาคนโยบายและผู้เกี่ยวข้องที่ต้องจัดสรรNGจากอ่าวไทยมาผลิตไฟฟ้าภายในประเทศให้เต็มที่รองรับpeak loadในช่วงฤดูร้อนนี้มากกว่าไปสนับสนุนอุตสาหกรรมปิโตรเคมีที่ส่วนใหญ่นำไปใช้ในการส่งออกและมีทางเลือกอื่นรองรับคำพูดจาก สล็อตเว็บตรง

3.ภาคครัวเรือนของประชาชนก็ไม่ควรต้องจ่ายค่าไฟฟ้าแพงกว่าเดิมที่4.72บาทต่อหน่วย รวมทั้งกลุ่มเปราะบางที่ภาครัฐเคยตรึงราคา ด้วยภาคอุตสาหกรรมก็ห่วงใยผลกระทบต่อภาระค่าใช้จ่ายของครัวเรือนเช่นกัน

4.การชำระหนี้ตลอดจนปัญหาสภาพคล่องของการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย หรือ กฟผคำพูดจาก สล็อตเว็บตรง. ซึ่งเป็นรัฐวิสาหกิจรับผิดชอบการผลิตและราคาไฟฟ้าถือเป็นสาธารณูปโภคพื้นฐานของประเทศก็ควรประคองการคืนหนี้จากค่าเอฟทีในระยะเวลาที่เหมาะสมด้วยสถานการณ์ที่ต้นทุนพลังงานลดลงตามลำดับ จึงไม่มีความจำเป็นต้องเร่งคืนหนี้ให้ กฟผ.จากค่าเอฟทีเมื่อเทียบกับปัญหาเศรษฐกิจของประเทศโดยรวมที่กำลังเจอภาวะการชะลอตัวจากการส่งออกตามภาวะตลาดโลก

“เรามองว่าปัญหาวิกฤติพลังงานและค่าไฟฟ้าของประเทศครั้งนี้ได้หมักหมมปัญหาสร้างความเหลื่อมล้ำของประเทศไว้มากมาย เราเร่งรอวันที่จะมีผู้รับผิดชอบที่กล้าหาญและจริงใจในการหาทางออกต่อปัญหาที่เกิดขึ้นอย่างจริงจังมากกว่าที่เป็นอยู่เราไม่อยากเห็นภาวะที่เอกชนและประชาชนต้องมานั่งลุ้นและภาวนาตลอดจนพึ่งพิงปัจจัยบวกของค่าไฟฟ้าจากราคาพลังงานโลกตลอดจนอัตราแลกเปลี่ยนที่อยู่นอกเหนือการควบคุมของเรา ทั้ง ๆ ที่เรายังมีทางออกที่สามารถพึ่งพิงตัวเองและป้องกันความเสี่ยงได้อย่างมากมายตามข้อเสนอที่เคยเสนอไปทั้งหมดแต่ไม่ได้รับการตอบสนองอย่างรวดเร็วและจริงจังจากผู้รับผิดชอบ” นายอิศเรศ กล่าว.